มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในสถานศึกษา

รายงานการสรุปวิเคราะห์ผลการประเมิน ITA online 2567

         การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment) หรือการประเมิน ITA นั้น ในปัจจุบันถือเป็นมาตรการที่สำคัญในการพัฒนาภาครัฐในด้านคุณธรรม ความโปร่งใส อันจะนำไปสู่การป้องกันการทุจริตในภาครัฐได้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐแต่ละหน่วยงานได้รับทราบสถานะของตนเองในด้านคุณธรรม ความโปร่งใส ตลอดจนใช้ให้เกิดประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงพัฒนาตนเอง ให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงให้เห็นได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
         การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษาออนไลน์ ดำเนินการตามระเบียบวิธีการประเมินผลที่เป็นไปตามหลักการทางสถิติและทางวิชาการเพื่อให้ผลการประเมินสามารถสะท้อนสุขภาวะขององค์กรในด้านคุณธรรมและความโปร่งใสได้อย่างแท้จริง โดยมีการเก็บข้อมูลจาก 3 ส่วน ประกอบด้วย


         ส่วนที่ 1 แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT) เป็นแบบวัดที่ให้ผู้ตอบเลือกตัวเลือกคำตอบตามการรับรู้หรือประสบการณ์ของตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในที่มีต่อหน่วยงานตนเอง

         ส่วนที่ 2 แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT) เป็นแบบวัดที่ให้ผู้ตอบเลือกตัวเลือกคำตอบตามการรับรู้ของตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเก็บข้อมูลการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกที่มีต่อหน่วยงานที่ประเมิน

         ส่วนที่ 3 แบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT) เป็นแบบวัดที่ให้ผู้ตอบแสดงหลักฐานว่ามีการเปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนดต่อสาธารณชน ผ่านการระบุ URL ที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของหน่วยงานลงในแบบฟอร์มบนเว็บไซต์อินทราเน็ตของหน่วยงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ของหน่วยงาน และทำการประเมินระดับการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะของหน่วยงานที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน



1. ผลการประเมิน ITA online ปี 2567 ของโรงเรียนบ้านนาแขม



         เพื่อพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โรงเรียนบ้านนาแขมจึงเข้ารับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษาออนไลน์ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษานพื้นฐานกำหนดเพื่อให้ผลการประเมินสะท้อนสุขภาวะขององค์กรในด้านคุณธรรมและความโปร่งใสและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง

         โรงเรียนบ้านนาแขม ได้เข้ารับการประเมินตามกรอบมาตรฐานการประเมิน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงหรือพัฒนาคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษาพร้อมทั้ง นำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนากระบวนการปฏิบัติงาน


          สรุป ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ 2566 ของโรงเรียนบ้านนาแขม สรุปผลภาพรวมได้คะแนนร้อยละเฉลี่ย 94.72 ซึ่งถือว่ามีคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานอยู่ใน ระดับ A



     - ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ ได้คะแนนร้อยละเฉลี่ย 98.04 ซึ่งอยู่ในระดับ AA
     - ตัวชี้วัดที่ 2 การใช้งบประมาณ ได้คะแนนร้อยละเฉลี่ย 98.04 ซึ่งอยู่ในระดับ AA
     - ตัวชี้วัดที่ 3 การใช้อำนาจ ได้คะแนนร้อยละเฉลี่ย 100 ซึ่งอยู่ในระดับ AA
     - ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ ได้คะแนนร้อยละเฉลี่ย 100 ซึ่งอยู่ในระดับ AA
     - ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต ได้คะแนนร้อยละเฉลี่ย 94.14 ซึ่งอยู่ในระดับ A
     - ตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงาน ได้คะแนนร้อยละเฉลี่ย 100 ซึ่งอยู่ในระดับ AA
     - ตัวชี้วัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสาร ได้คะแนนร้อยละเฉลี่ย 100 ซึ่งอยู่ในระดับ AA
     - ตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงระบบการทำงาน ได้คะแนนร้อยละเฉลี่ย 99.78 ซึ่งอยู่ในระดับ AA
     - ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล ได้คะแนนร้อยละเฉลี่ย 75 ซึ่งอยู่ในระดับ A
     - ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต ได้คะแนนร้อยละเฉลี่ย 100 ซึ่งอยู่ในระดับ AA



         เมื่อพิจารณาพบว่า ตัวชี้วัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะทั้ง 5 ตัวชี้วัด ได้คะแนนเท่ากับ 100.00 ซึ่งเป็นคะแนนที่สูงที่สุด รองลงมาคือ ตัวชี้วัดการปฏิบัติหน้าที่และการใช้งบประมาณ ได้คะแนนเท่ากับ 98.04 และตัวชี้วัดที่ได้คะแนนที่น้อยที่สุดในปี พ.ศ. 2567 คือตัวชี้วัดปเผยแพร่ข้อมูล ได้คะแนนเท่ากับ 75 จากข้อมูลสามารถสรุปได้ว่าจุดแข็งของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของโรงเรียนบ้านนาแขม คือ การการป้องกันการทุจริต และจุดอ่อนที่ควรแก้ไขหรือพัฒนา คือ การเปิดเผยข้อมูล


2. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล

          2.1 สรุปประเด็นที่เป็นจุดแข็ง และประเด็นที่เป็นข้อบกพร่องที่จะต้องแก้ไข

          จากการวิเคราะห์คะแนนผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษาทุกตัวชี้วัดได้ระดับคุณภาพ AA ซึ่งถือว่าเป็นระดับสูงสุดแล้ว แต่ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานของสถานศึกษาพัฒนาขึ้นให้ได้มากที่สุด จึงมีการวิเคราะห์ประเด็นที่เป็นขุดแข็ง ข้อบกพร่องที่จะต้องแก้ไข ดังนี้
          1) ประเด็นจุดแข็ง (ตัวชี้วัดที่ได้คะแนน 100) ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 3 4 6 7 และ 10  จากผลการประเมิน OIT ของปีงบประมาณ 2567 พบว่าตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล ได้คะแนน75 ซึ่งเป็นจุดด้อยที่ควรพัฒนา ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างมาตรการในการขับเคลื่อนการเปิดเผยข้อมูล
          2) ประเด็นข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน (ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนน้อยที่สุด) คือ ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล โรงเรียนบ้านนาแขมมีช่องทางการติดต่อสื่อสารหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์: https://nakham.loei1.go.th/, Facebook page: โรงเรียนบ้านนาแขม สพป. เลย1 และ Line Official Account (Line OA) เสมารักษ์ ซึ่งมีการแจ้งข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ลงช่องทางดังกล่าวอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่คะแนนตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล ยังได้น้อยกว่าทุกตัวชี้วัด ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลและบริบทในภาพรวมแล้วอาจเนื่องมาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐต่อการดำเนินงานในภาพรวมของสถานศึกษา ซึ่งเป็นประเด็นที่เป็นข้อบกพร่องปัญหา อุปสรรค และประเด็นในการกำหนดมาตรการดำเนินงานต่อไป


          2.2 สรุปปัญหา อุปสรรค ประเด็นในการกำหนดมาตรการดำเนินงานและข้อจำกัดของหน่วยงาน


          2.2 .1 ประเด็นที่เป็นข้อบกพร่อง ที่จะต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน ซึ่งจัดเรียงตามค่าคะแนนการประเมิน ได้ดังนี้
         1) การรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) ในตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงระบบการทำงาน คะแนนที่ได้ 99.56
          ประเด็นที่เป็นข้อบกพร่อง ที่จะต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน ซึ่งจัดเรียงตามค่าคะแนนการประเมิน ได้ดังนี้
         2) การรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) ในตัวชี้วัดที่ 1และ2 กการปฏิบัติหน้าที่ และการใช้งบประมาณ คะแนนที่ได้ 98.04


          2.2.2 ประเด็นที่เป็นข้อจำกัดของหน่วยงาน รายละเอียดมีดังนี้
          ประเด็นที่เป็นข้อจำกัดของหน่วยงานที่จะต้องดำเนินการควบคู่กับมาตรการดำเนินงาน เกี่ยวเนื่องกับการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) ด้วยภาระงานและหน้าที่การสอนการจัดการเรียนรู้ซึ่งเป็นภาระหน้าที่หลัก (Functional) ซึ่งมีมากกว่า 20 ชั่วโมง/สัปดาห์ ทำให้ ประสิทธิภาพการสื่อสารต่อการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและความเข้าใจในกระบวนการการประเมินธรรมและความโปร่งใสออนไลน์ ยังเป็นงานที่ต้องส่งเสริม ทำความเข้าใจและดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง


3. มาตรการดำเนินงาน

3.1 ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล

    ข้อบกพร่องที่พบคือ ข้อมูลควรมีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงศัพท์เฉพาะทาง หรือข้อมูลที่ไม่จำเป็น และควรเป็นข้อมูลปัจจุบัน ทันต่อเหตุการณ์ 

9.3การบริหารเงินและงบประมาณยังไม่ดีเท่าที่ควร แผนงบประมาณควรสอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์ที่ตั้งไว้ ไม่ใช่เพียงแค่การจัดทำงบประมาณเพื่อเป็นไปตามขั้นตอน โดยให้สรุปรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการ รอบ 6 เดือน

9.4จัดโปรแกรมฝึกอบรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของบุคคากร เพื่อเพิ่มพูนทักษะและความรู้ 

4. เอกสารสรุปรายงานผลการประเมิน ITA ปีงบประมาณ 2567 และมาตรการดำเนินงาน


ใหม่กว่า เก่ากว่า